เมนู

ย่อมรู้ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ตรวจดู
หน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านเมื่อรู้ ก็รู้
เมื่อเห็นก็เห็นอย่างนี้แน่นอน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะอริยสัจ 4 สมณะหรือ
พราหมณ์ผู้นั้น เห็นอย่างดีแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ตรัสคุณของสังฆรัตนะโดยอำนาจพระโสดา-
บัน ที่ประจักษ์แก่คนเป็นอันมากเท่านั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้น
นั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ แม้อันนี้
ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์. ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัย
ที่กล่าวมาก่อนแล้วนั้นแล. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับ
พุทธอาชญาแห่งพระคาถาแม้นี้แล.

พรรณนาคาถาว่า เย อริยสจฺจานิ


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ อันมีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้ง
ด้วยคุณของพระโสดาบัน โดยไม่แปลกกันอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัส
ว่า เย อริยสจฺจานิ เป็นต้น ด้วยคุณของพระโสดาบันสัตตักขัตตุปรมะ
น้องน้อยของพระโสดาบันทั้งหมด บรรดาพระโสดาบัน 3 ประเภท คือ
เอกพิชี โกลังโกละ สัตตักขัตตุปรมะ เหมือนที่ตรัสไว้ว่า
บุคคลบางตนในพระศาสนานี้ย่อมขอว่าโสดาบัน
เพราะสิ้นสังโยชน์ 3 โสดาบันนั้น บังเกิดภพเดียว
เท่านั้น ก็ทำที่สุดทุกข์ นี้ชื่อ เอกพิชี. โสดาบันท่อง
เที่ยวอยู่ 2 หรือ 3 ตระกูล ก็เหมือนกัน ย่อมทำที่

สุดทุกข์ได้ นี้ชื่อ โกลังโกละ โสดาบันยังเวียนว่าย
ตายเกิดอยู่ในเทวดาและมนุษย์ 7 ครั้ง ก็เหมือนกัน
ย่อมทำที่สุดทุกข์ได้ นี้ชื่อ สัตตักขัตตุปรมะ.

ในคำนั้น คำว่า เย อริยสจฺจานิ นี้ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
บทว่า วิภาวยนฺติ ได้แก่ กำจัดความมืดคือกิเลส อันปกปิดสัจจะแล้ว ทำให้
แจ่มแจ้งปรากฏแก่ตน ด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา. บทว่า คมฺภีรปญฺเญน
ได้แก่ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระปัญญา มีกำลัง ซึ่งใคร ๆ ไม่ได้ด้วย
ญาณของโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก ด้วยพระปัญญาที่หาประมาณมิได้ ท่าน
อธิบายว่า ผู้เป็นสัพพัญญู.
บทว่า สุเทสิตานิ ได้แก่ ทรงแสดงด้วยดี ด้วยนัยนั้น ๆ มีสมาสันย
อัพพยาสนัย สากัลยนัย เวกัลยนัยเป็นต้น. บทว่า กิญฺจาปิ เต โหนฺติ
ภุสปฺปมตฺตา
ความว่า บุคคลทั้งหลาย ผู้อบรมอริยสัจแล้วเหล่านั้น อาศัย
ฐานะแห่งความประมาท มีความเป็นเทวราชและความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
เป็นต้น เป็นผู้ประมาทอย่างร้ายแรง ก็จริง ถึงเช่นนั้น นามรูปใดพึงตั้งอยู่
เพราะวิญญาณที่โสดาปัตติมรรคญาณปรุงแต่งดับไป แล้วเกิดในสังสารวัฏที่มี
เบื้องต้นเบื้องปลายตามไปไม่รู้แล้ว ถึง 7 ภพ ก็ไม่ถือเอาภพที่ 8 เพราะ
นามรูปนั้นดับไป เพราะตั้งอยู่ไม่ได้ แต่ในภพที่ 7 นั่งเอง ก็จักเริ่มวิปัสสนา
แล้วบรรลุพระอรหัต.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของสังฆรัตนะ โดยพระโสดาบัน
สัตตักขัตตุปรมะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบ
สัจจวจนะว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ แม้อันนี้ก็เป็นรัตนะอันประณีต
ในพระสงฆ์ ความของสัจจวนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล.

พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้
แล.

พรรณนาคาถาว่า สหาวสฺส


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้ง ด้วย
คุณคือการไม่ถือเอาภพที่ 8 ของพระโสดาบันสัตตักขัตตุปรมะอย่างนี้แล้ว บัดนี้
จึงเริ่มตรัสว่า สหาวสฺส เป็นต้น ด้วยคุณของพระโสดาบันสัตตักขัตตุปรมะ
นั้นนั่นแล แม้จะยังถือภพ 7 ภพ ซึ่งแปลกจากบุคคลอื่น ๆ ที่ยังละการถือภพ
ไม่ได้. ในคำนั้น บทว่า สหาว แปลว่า พร้อมกับ. บทว่า อสฺส
ได้แก่ ของบรรดาพระโสดาบันที่ตรัสว่า พระโสดาบันเหล่านั้น ไม่ถือเอา
ภพที่ 8 ภพใดภพหนึ่ง. บทว่า ทสฺสนสมฺปทาย ได้แก่ ด้วยความ
ถึงพร้อมแห่งโสดาปัตติมรรค. จริงอยู่ โสดาปัตติมรรคเห็นพระนิพพานแล้ว
ท่านจึงเรียกว่า ทัสสนะ เพราะเห็นพระนิพพานก่อนธรรมทั้งปวง ด้วยความ
ถึงพร้อมแห่งกิจที่ควรทำ. ความปรากฏแห่งโสดาปัตติมรรคนั้นอยู่ในตน ชื่อ
ว่า ทัสสนสัมปทา. พร้อมด้วยทัสสนสัมปทานั้นนั่นแล. ศัพท์ว่า สุ ในคำ
ว่า ตยสฺสุ ธมฺมา ชหิตา วนฺติ นี้เป็นนิบาต ลงในอรรถสักว่าทำบท
ให้เต็ม เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อิทํ สุ เม สาริปุตฺต มหาวิกฏ-
โภชนสฺมึ โหติ
ดูก่อนสารีบุตรนี้แล เป็นการฉันอาหารแบบมหาวิกัฎของ
เราละ ในข้อนี้มีความอย่างนี้ว่า เพราะเหตุว่า ธรรมดา [สังโยชน์เบื้องต่ำ 3]
ย่อมเป็นอันพระโสดาบัน ละได้แล้ว เป็นอันสละแล้ว พร้อมด้วยทัสสนสัมปทา
ของพระโสดาบันนั้น.
บัดนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมที่พระโสดาบันล่ะได้แล้ว จึงตรัสว่า สกฺกาย-
ทิฏฺฐิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ สีลพฺพตํ วาปิ ยทตฺถิ กิญฺจิ
ในธรรม 3 อย่างนั้น